หลังคาเมทัลชีท

เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี  เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา โดยเมทัลชีทแบบแผ่นมีรูปแบบลอนให้เลือกมากมาย ซึ่งแบ่งตมการติดตั้งได้เป็น 3 ประเภท

  1. แผ่นเมทัลชีทที่ต้องติดตั้งด้วยไร้รอยต่อ โดยใช้แผ่นเมทัลชีตซีมเลส ติดตั้งด้วยการเจาะยึดสกรูกับคลิปที่ยึดตัวแผ่น แล้วนำแผ่นต่อไปมาซ้อนทับให้ล็อกกัน แผ่นซ้อนทับกันจึงปิดทับสกรูไปด้วย  ส่วนที่ล็อกกันมีลักษณะเป็นครีบสูงตั้งตรง น้ำจึงไม่รั่ว และดูเหมือนไร้รอยต่อ   
  2. แผ่นเมทัลชีทที่ติดตั้งด้วยสกรู โดยใช้สกรูยิงยึดระหว่างแผ่นเมทัลชีทกับแปหรือโครงสร้างหลังคา เป็นแบบที่นิยมใช้ เพราะติดตั้งง่าย เช่น ลอนมาตรฐาน, ลอนสเปน, ลอนตะเข็บคู่, ลอนหลังเต่า, ลอนซากุระ และ ลอนเมริเดียน 
  3. แผ่นเมทัลชีทที่ไม่ต้องติดตั้งด้วยสกรู การติดตั้งแผ่นเมทัลชีทกับขายึดหรือคอนเน็กเตอร์ ไม่มีการใช้สกรูเจาะ ช่วยลดการรั่วซึมได้ดีกว่าระบบยิงสกรู เช่น  เมทัลชีทรูปลอนคลิปล็อก 

เลือกเมทัลชีทอย่างไงดีให้เหมาะกับบ้าน

1.เลือกความหนาให้เหมาะกับการใช้งาน  

เมทัลชีทเรียกว่าเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่สามารถเือกความหนาให้เหมาะสมกับโครงสร้างของบ้านเนื่องจากความหนาของเมทัลชีทมีผลต่อการออกแบบการรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้าน และความแข็งแรงของอาคาร หากเลือกให้เมาะสมกับขนาดบ้านจะช่วยให้บ้านมีความแข็งแรง สมบูรณ์ และประหยัดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุงได้  

  • งานขนาดเล็ก  ใช้ความหนา 0.23-0.28 มิลลิเมตร เช่น ที่พักอาศัยชั่วคราว
  • งานหลังคาและผนังขนาดเล็กที่มีระยะแปไม่เกิน 1.2 เมตร ใช้ความหนาเมทัลชีท 0.30-0.35 มิลลิเมตร เช่น บ้านพักอาศัย ส่วนต่อเติม โรงจอดรถ และกันสาด 
  • งานหลังคาขนาดกลางและงานผนังทั่วไป ใช้ความหนา 0.35-0.40 มิลลิเมตร เช่น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง 
  • งานหลังคาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีระยะแปไม่เกิน 1.5 เมตร ใช้ความหนา 0.40-0.47 มิลลิเมตร เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดกลางที่ต้องการการก่อสร้างคุณภาพสูง 
  • งานหลังคาขนาดใหญ่ที่มีระยะแปถึง 2.5 เมตร ใช้ความหนา 0.47 มิลลิเมตรขึ้นไป เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ 
หลังคาเมทัลชีท

2.เลือกระบบการติดตั้งและสีให้เหมาะกับตัวบ้าน 

ระบบการติดตั้งมีให้เลือกด้วยกัน 3 ระบบที่กล่าวมาข้างต้นโดยจะประกอบไปด้วย 1.แผ่นเมทัลชีทที่ต้องติดตั้งด้วยไร้รอยต่อ 2.แผ่นเมทัลชีทที่ติดตั้งด้วยสกรู และ  3.แผ่นเมทัลชีทที่ไม่ต้องติดตั้งด้วยสกรู  โดยแผ่นเมทชีทมีให้เลือกหลากหลาย วันนี้จะมแนะนำคร่าวว่าแบบไหนเมาะกับงานอะไรบ้าง 

  • บ้านที่มีสไตล์เฉพาะตัว เลือกใช้ลอนกระเบื้องที่เข้ากับสไตล์นั้นๆ ซึ่งมีหลายรูปแบบให้เลือก 
  • บ้านอยู่ในพื้นที่ฝนชุกลมแรง แนะนำให้ใช้ลอยสูงเพื่อช่วยระบายน้ำได้ดี
  • พื้นที่ขนาดเล็ก จะเหมาะกับลอนเล็กและลอนเตี้ย เพื่อให้ดูสมส่วนกัน

3. เลือกแผ่นเมทัลชีทที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน 

การเลือกหลังคาเมทัลชีทที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี จึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญที่สามารถช่วยปกป้องบ้านจากความร้อนได้ เพราะว่าหลังคาบ้านถือว่าโดนแดดเยอะมากที่สุดโดยเฉพาะช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงสุดของวันนั้น หลังคาจะเป็นส่วนที่รับความร้อนทั้งหมด  

หลังคาเมทัลชีทมีกี่แบบ

1.แผ่นหลังคาเมทัลชีทแบบธรรมดา 

ตัวหลังคาเหล็กเมทัลชีทแบบธรรมดาหรือแบบแผ่นเปล่านี้จะมีคุณลักษณะทึบแสง ไม่ใช่แผ่นหลังคาโปร่งแสงเหมือนหลังคาชินโคไลท์หรือหลังคาโพลีฯ เคลือบสารที่มีส่วนผสมหลักเป็นสังกะสีและอะลูมิเนียมเพื่อป้องกันการผุกร่อนจากการเป็นสนิม แผ่นตัวนี้นำมารีดขึ้นลอน สามารถนำมาใช้เป็นแผ่นหลังคาหรือกั้นเป็นผนังได้ นอกจากมียังมีการเคลือบสี เพื่อความสวยงามทับไปที่ผิวบนอีกทีหนึ่ง ข้อดีคือ จะมีราคาถูก เพราะจะคิดราคาเป็นต่อเมตร  ข้อเสียคือ จะทำให้ใต้มุงหลังคาบ้านร้อนมาก ในช่วงกลางวันที่แดดแรง และเมื่อเวลาฝนตกจะมีเสียงดังมาก 

metal sheet roof

2.หลังคาเหล็กเมทัลชีทแบบติดโฟม PU 

ชนิดนี้จะใช้โฟม PU ที่ไว้ป้องกันสำหรับไฟลาม โดยจะเป็นแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีทที่บุฉนวน PU สำเร็จรูปพร้อมใช้งานที่ติดตั้งส่วนใหญ่จะหนา 1 นิ้ว มีความหนา 2-3 นิ้ว ยิ่งหนายิ่งป้องกันได้ดี สามารถป้องกันได้ทั้งความร้อน และเสียงฝนกระทบอีกด้วย สามาถแบ่งได้ เป็นอีก 2 ชนิด 1.PU แบบที่มีแผ่นPVCทับอยู่ จะมีลักษณะคล้ายวอลเปเปอร์ถ้าโดนแดดจะออกสีเหลือง และแตกหักง่าย

metal sheet with PE

3.หลังคาเหล็กเมทัลชีทแบบติดฉนวนกันร้อน PE

จะเป็นแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีทมาพร้อมกับฉนวนกันความร้อน PE ซึ่งฉนวนกันความร้อน PE จะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ออกสีเงินอยู่ภายใต้ตัวหลังคาเหล็กเมทัลชีทค่ะ ข้อดี สามารถลดความร้อนได้ดีกว่าแบบธรรมดา ลดเสียงดังของเม็ดฝนได้ในระดับหนึ่งหากเทียบกับหลังคาเหล็กเมทัลชีทแบบไม่ได้ติดฉนวนกันความร้อนข้อเสียของหลังคาเหล็กเมทัลชีทแบบติดฉนวนกันร้อน PE จะมีความทนทานถึงแค่เพียงแค่ 5-6 ปี ค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่นำมาประกอบด้วย   

4.หลังคาเหล็กเมทัลชีทแบบมีฉนวนกันความร้อนอยู่ระหว่างสองแผ่น

แผ่นเมทัลชีทรูปแบบมีฉนวนกันความร้อนตรงกลางระหว่างแผ่น จะเป็นแผ่นหลังคามีแผ่นเมทัลชีทประกบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีฉนวนกันความร้อนอยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นจะเป็นโฟมพียู (PU Foam) ซึ่งสามารถกันความร้อนและกันเสียงได้เป็นอย่างดีค่ะ ที่สำคัญคือหลังคาเหล็กเมทัลชีทแบบนี้จะแข็งแรงเพราะมีแผ่นเหล็กประกบทั้ง 2 ด้านค่ะแต่แผ่นชนิดนี้มักจะมีราคาสูงเมื่อเทียบกับแผ่นเมทัลชีททั่วไป แต่ป้องกันความร้อนได้ดีกว่าแผ่นเมทัลชีทในรูปแบบอื่นๆ เหมาะกับบ้านที่อยู่อาศัยที่ต้องการเมทัลชีทที่มีคุณภาพ และต้องการใช้งานในระยะยาวได้ค่ะ